ข้อบังคับ

ของ

สมาคมนักวิชาการและนักวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

……………

หมวดที่ ๑

ความทั่วไป

ข้อ ๑   สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมนักวิชาการและนักวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาท้องถิ่น”

  ชื่อย่อภาษาไทย “สวพท”

  ชื่อภาษาอังกฤษ “Association of area-based Academics and Researchers for Local Development”

  ชื่อย่อภาษาอังกฤษ “AARD”

ข้อ ๒   เครื่องหมายของสมาคมมีลักษณะเป็นวงกลมขอบสีเขียว มีชื่อสมาคมภาษาไทยอยู่ด้านบนและชื่อสมาคม ภาษาอังกฤษอยู่ด้านล่าง ภายในวงกลมประกอบด้วยภาพการจับมือและช่อใบไม้สีเขียวใต้ภาพการจับมือ ซึ่งหมายความถึง การร่วมแรงแข็งขันสมัครสมานสามัคคีมีพลังไม่ทอดทิ้งกัน ช่วยคิดช่วยทำสร้างสรรค์คุณค่าร่วมกัน ขับเคลื่อนพลวัตทางวิชาการและการวิจัยร่วมกันเพื่อการผลิดอกออกผลและความเจริญงอกงามของท้องถิ่นแบบยั่งยืน

ข้อ ๓   ในข้อบังคับของสมาคมคำ.ว่า

“สมาคม” หมายถึง สมาคมนักวิชาการและนักวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

“สมาชิก” หมายถึง สมาชิกของสมาคมนักวิชาการและนักวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

ข้อ ๔   สำ.นักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๒๐๒/๑ หมู่ที่ ๔ ถนนแจ้งสนิท ตำบลดู่ทุ่ง อำเภอเมืองยโสธร

จังหวัดยโสธร ๓๕๐๐๐

ข้อ ๕   วัตถุประสงค์ของสมาคม

        ๕.๑ เพื่อดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม งานวิชาการในการพัฒนาท้องถิ่น

        ๕.๒ เพื่อการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาชุมชนระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

        ๕.๓ เพื่อการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรประจำการทั้งภาครัฐและเอกชน

        ๕.๔ เพื่อให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เป็นสมาชิกที่มีความประสงค์จะพัฒนาตนเองในด้านวิชาการและการวิจัย

        ๕.๕ เพื่อให้คำแนะนำ คำปรึกษา และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เป็นสมาชิกที่มีความประสงค์จะพัฒนาตนเองในการผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อเป็นประโยชน์ในวงการวิจัย การศึกษาและการบริหารในสถาบันการศึกษาต้นสังกัดและสถาบันการศึกษาอื่นๆ

๕.๖ เพื่อจัดทำวารสารทางวิชาการ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ และเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิชาการของสมาชิกและประชาชนทั่วไป

๕.๗ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง นำเสนอต่อสาธารณชน

๕.๘ ร่วมมือและประสานงานกับองค์กรหรือสถาบันอื่น ๆ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการศึกษาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์

๕.๙ สมาคมนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองและไม่จัดตั้งโต๊ะบิลเลียด

 

หมวดที่ ๒

สมาชิกสมาคม

ข้อ ๖   สมาชิกของสมาคมมี ๓ ประเภท คือ

        ๖.๑ สมาชิกสามัญ ได้แก่ ครู อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งในสถาบันการศึกษาและนักวิชาการอิสระ ตลอดทั้งประชาชนที่มีความสนใจและสมัครเข้าเป็นสมาชิก

        ๖.๒ สมาชิกสมทบ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

             ๑) ประเภทสถาบัน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม

             ๒) ประเภทบุคคล ได้แก่ นักการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัยและประชาชนทั่วไปที่มีความประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิก  

        ๖.๓ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอุปการคุณแก่สมาคมด้านการวิจัยและงานวิชาการ ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

ข้อ ๗ สมาชิกของสมาคมจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

        ๗.๑ ประเภทสถาบัน มีรายละเอียด ดังนี้

            ๑) เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐและ/หรือเอกชนที่มีการจัดการเรียนการสอนภายใต้สาขา/หลักสูตร/ กลุ่มวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา การบริหาร การปกครอง วัฒนธรรม การเกษตร สาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยี การสื่อสารหรือด้านอื่นๆ

            ๒) เป็นหน่วยงาน/องค์กรที่ให้ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา การบริหาร การปกครอง วัฒนธรรม การเกษตร สาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยี การสื่อสารหรือด้านอื่นๆ

        ๗.๒ ประเภทบุคคล มีรายละเอียด ดังนี้

             ๑) เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ

             ๒) เป็นบุคคลที่ยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมและมีความประพฤติเรียบร้อย

             ๓) ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

             ๔) เป็นบุคคลที่ไม่ต้องคำ.พิพากษาของศาลถึงที่สุด ให้เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจำ.คุก ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ การต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น

ข้อ ๘   ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม

        ๘.๑ สมาชิกสามัญ จะต้องเสียค่าลงทะเบียนครั้งแรก ๒๐๐ บาท และค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปี ปีละ  ๑๐๐ บาท

        ๘.๒ สมาชิกสมทบ

             ๑) ประเภทสถาบันจะต้องเสียค่าลงทะเบียนครั้งแรก ๔๐๐ บาท และค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปี ปีละ ๒๐๐ บาท

             ๒) ประเภทบุคคล จะต้องเสียค่าลงทะเบียนครั้งแรก ๒๐๐ บาท และค่าบำ.รุงสมาคมเป็น รายปี ปีละ ๑๐๐ บาท

        ๘.๓ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบียนและค่าบำ.รุงสมาคม

ข้อ ๙   การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเลขานุการ โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย ๑ คน และให้เลขานุการติดประกาศรายชื่อผู้สมัครไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน เพื่อให้สมาชิกอื่นๆ ของสมาคมได้คัดค้านการสมัครนั้น เมื่อครบกำหนดประกาศแล้วก็ให้เลขานุการนำใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่าจะรับหรือไม่รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมและเมื่อคณะกรรมการพิจารณาการสมัครแล้วผลประการใดให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครปราบโดยเร็ว

ข้อ ๑๐ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้สมัครนั้นชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการและสมาชิกภาพของผู้สมัครให้เริ่มแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาชิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัครไม่ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงภายในกำหนด ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก

ข้อ ๑๑ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมในข้อ ๖ (๓) สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการ ได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมได้มาถึงสมาคม

ข้อ ๑๒ สมาชิกภาพของสมาชิกได้สิ้นสุดลงด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้

        ๑๒.๑ ประเภทสถาบัน

             ๑) ปิดสาขา/หลักสูตร/กลุ่มวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา การบริหาร การปกครอง วัฒนธรรม การเกษตร สาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยี การสื่อสาร หรือด้านอื่นๆ

             ๒) ลาออก

             ๓) ขาดคุณสมบัติสมาชิก

             ๔) ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจาก ทะเบียนเพราะสร้างความเสื่อมเสียแก่สมาคม

        ๑๒.๒ ประเภทบุคคล

             ๑) ตาย

             ๒) ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการและคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

             ๓) ขาดคุณสมบัติสมาชิก

             ๔) ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนเพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤติสร้างความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม

ข้อ ๑๓ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

        ๑๓.๑ มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน

        ๑๓.๒ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำ.เนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ

        ๑๓.๓ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคมและการประชุมทางวิชาการที่สมาคมจัดขึ้น

        ๑๓.๔ มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

        ๑๓.๕ สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคม และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมได้สถาบัน/คนละ ๑ คะแนนเสียง

        ๑๓.๖ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม

        ๑๓.๗ มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย ๑ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอต่อคณะกรรมการ ให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้

        ๑๓.๘ มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด

        ๑๓.๙ มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม

        ๑๓.๑๐ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำ.เนินกิจการต่างๆ ของสมาคม

        ๑๓.๑๑ มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

        ๑๓.๑๒ มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

 

หมวดที่ ๓

การดำ.เนินกิจการของสมาคม

ข้อ ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำ.หน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำ.นวนอย่างน้อย ๘ คน อย่างมากไม่เกิน ๑๕ คน คณะกรรมการนี้ต้องเป็นสมาชิกสามัญที่ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม โดยเลือกนายกสมาคม ๑ คน และอุปนายก ๒ คน และเลือกกรรมการอื่นๆ อีกไม่เกินกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจากสมาชิกสามัญตามข้อ ๖ (๑) สำ.หรับกรรมการในตำ.แหน่งอื่นๆ ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งจากสมาชิกสามัญหรือสมาชิกสมทบก็ได้ ตำ.แหน่งของกรรมการสมาคมมีตำ.แหน่งและหน้าที่โดยสังเขป ดังนี้

        ๑๔.๑ นายกสมาคม     ทำ.หน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและทำ.หน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม

        ๑๔.๒ อุปนายก          ทำ.หน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม ปฏิบัติตามหน้าที่ที่นายกสมาคมได้มอบหมาย และทำ.หน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำ.หน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกตามลำ.ดับตำ.แหน่งเป็นผู้กระทำการ.แทน

        ๑๔.๓ เลขานุการ         ทำ.หน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคมและปฏิบัติตามคำ.สั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทำ.หน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ จัดเตรียมสถานที่ของสมาคม และสถานที่ประชุมต่างๆ ของสมาคม

        ๑๔.๔ เหรัญญิก         มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำ.บัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคมและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทางการเงินของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบรวมทั้งการระดมทุนของสมาคม

        ๑๔.๕ วิชาการ            มีหน้าที่ในการพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา ด้านวิชาการ ด้านการวิจัย สนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม หรือด้านอื่นๆ

        ๑๔.๖ นายทะเบียน        มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำ.รุงสมาคมจากสมาชิก

         ๑๔.๗ ประชาสัมพันธ์     มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

         ๑๔.๘ กรรมการตำ.แหน่งอื่นๆ    ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำ.หนดให้มีขึ้นโดยมีจำ.นวนเมื่อรวมกับตำ.แหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำ.นวนที่ข้อบังคับกำ.หนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำ.หนดตำ.แหน่งถือว่าเป็นกรรมการกลาง

ข้อ ๑๕ คณะกรรมการของสมาคม สามารถอยู่ในตำ.แหน่งได้คราวละ ๒ ปี และเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตำ.แหน่งครบกำ.หนดตามวาระแล้ว ถ้าคณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ ก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำ.หนดตามวาระการรักษาการไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำ.การส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ

ข้อ ๑๖ ตำ.แหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำ.หนดวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำ.รงตำ.แหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำ.รงตำ.แหน่งแทนอยู่ในตำ.แหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้นและถ้าเป็นตำแหน่งนายกว่างก็ให้คณะกรรมการเลือกกันเองเป็นนายกสมาคม

ข้อ ๑๗ กรรมการอาจจะพ้นตำ.แหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้

        ๑๗.๑ ตาย

        ๑๗.๒ ลาออก

        ๑๗.๓ ขาดจากสมาชิกภาพตามข้อบังคับและตามที่กฏหมายได้กำหนดไว้

        ๑๗.๔ ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำ.แหน่ง

        ๑๗.๕ เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสียและคณะกรรมการสมาคมมีมติให้ออก โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของคณะกรรมการของสมาคม

ข้อ ๑๘ กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำ.แหน่งกรรมการ ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการและให้พ้นจากตำ.แหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก

ข้อ ๑๙ อำ.นาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

        ๑๙.๑ มีอำ.นาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้

        ๑๙.๒ มีอำ.นาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม

        ๑๙.๓ มีอำ.นาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษาหรือ อนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำ.แหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

        ๑๙.๔ มีอำ.นาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำ.ปี และประชุมใหญ่วิสามัญ

        ๑๙.๕ มีอำ.นาจแต่งตั้งกรรมการในตำ.แหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำ.หนดไว้ในข้อบังคับนี้

        ๑๙.๖ มีอำ.นาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำ.นาจอื่นๆ ตามที่ข้อบังคับกำ.หนดไว้

        ๑๙.๗ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม

        ๑๙.๘ มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญจำ.นวน ๑ ใน ๓ ของสมาชิกทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

        ๑๙.๙ มีหน้าที่จัดทำ.เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำ.เนินกิจการต่างๆของสมาคม ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ

        ๑๙.๑๐ จัดทำ.บันทึกการประชุมต่างๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ

        ๑๙.๑๑ มีหน้าที่อื่น ๆ  ตามที่ข้อบังคับได้กำ.หนดไว้

ข้อ ๒๐ คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยปีละ ๓ ครั้ง โดยให้จัดขึ้นภายในเดือน เมษายน เดือน สิงหาคมและเดือน ธันวาคม ทั้งนี้ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม

ข้อ ๒๑ การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำ.หนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ ๒๒ ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำ.หน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

 

หมวดที่ ๔

การประชุมใหญ่

ข้อ ๒๓ การประชุมใหญ่ของสมาคมมี ๒ ชนิด คือ  

         ๒๓.๑ การประชุมใหญ่สามัญ

         ๒๓.๒ การประชุมใหญ่วิสามัญ

ข้อ ๒๔ คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำ.ปี ๆ ละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปี

ข้อ ๒๕ การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้นหรือเกิดขึ้นด้วยการ       เข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของสมาชิกทั้งหมดหรือสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด จะทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการของสมาคมให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้ ในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด

          เมื่อคณะกรรมการของสมาคมได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ

          ถ้าคณะกรรมการของสมาคมไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลาตามวรรคสองสมาชิกที่เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกอื่นรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนสมาชิกที่กำหนดตามวรรคแรกจะเรียกประชุมเองก็ได้

ข้อ ๒๖ การแจ้งกำ.หนดนัดประชุมใหญ่ ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำ.หนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ และการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลาและสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน และประกาศแจ้งกำ.หนดนัดประชุมไว้ ณ สำ.นักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนถึงกำ.หนดการประชุมใหญ่ หรือลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วันก็ได้

ข้อ ๒๗ การประชุมใหญ่สามัญประจำ.ปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยต่อไปนี้

        ๒๗.๑ แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี และแผนการดำ.เนินงานในปี ต่อไป

        ๒๗.๒ แถลงบัญชีรายรับรายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ

        ๒๗.๓ เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำ.หนดวาระ

        ๒๗.๔ เลือกตั้งผู้สอบบัญชี

        ๒๗.๕ ตรวจสอบทะเบียนสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน

        ๒๗.๖ เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี

ข้อ ๒๘ ในการประชุมใหญ่สามัญประจำ.ปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ ต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม หากถึงกำหนดเวลาการประชุมแล้วสมาชิกยังไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่ครั้งนั้นเป็นการประชุมใหญ่ตามคำเรียกร้องของของสมาชิกก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นกรณีการประชุมใหญ่ที่คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้เรียกประชุม ก็ให้เรียกประชุมอีกใหญ่ครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน ๑๔ วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม

ข้อ ๒๙ การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำ.หนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ ๓๐ ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมใหญ่ทำ.การเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ทำ.หน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

 

หมวดที่ ๕

การเงินและทรัพย์สิน

ข้อ ๓๑ การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคมถ้ามีให้นำฝากไว้ในธนาคารกรุงไทย สาขายโสธร

ข้อ ๓๒ การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำ.การแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิกและ/หรือเลขานุการสมาคมหรือรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของลายมือชื่อที่ให้ไว้ แก่ธนาคาร พร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้ได้

ข้อ ๓๓ ให้นายกสมาคมมีอำ.นาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายเงินได้ ครั้งละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ถ้าจำ.เป็นต้องจ่ายเกินกว่านี้ จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม

ข้อ ๓๔  ให้เหรัญญิก มีอำ.นาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องนำ.ฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำ.นวยให้

ข้อ ๓๕  เหรัญญิกจะต้องทำ.บัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการการรับหรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทำ.การแทนร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำ.การแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง

ข้อ ๓๖ ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมและจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต

ข้อ ๓๗ ผู้สอบบัญชี มีอำ.นาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถจะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้

ข้อ ๓๘ คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ

 

หมวดที่ ๖

การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

ข้อ ๓๙ ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่ จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด

ข้อ ๔๐ การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมายมติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด

ข้อ ๔๑ เมื่อสมาคมต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำ.ระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ตกเป็นของวัดป่าศรีสุนทร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๘ หมู่ที่ ๔ ตำบลดู่ทุ่ง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

 

หมวดที่ ๗

 บทเบ็ดเตล็ด

ข้อ ๔๒ การตีความข้อบังคับของสมาคม หากเป็นที่สงสัยให้ที่ประชุมใหญ่โดยเสียงข้างมากของที่ประชุมชี้ขาด

ข้อ ๔๓ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคมมาใช้บังคับ ในเมื่อข้อบังคับของสมาคมมิได้กำหนดไว้ และหากมีข้อบังคับใดขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ให้ถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อ ๔๔ สมาคมต้องไม่ดำเนินการหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน หรือเพื่อบุคคลใดนอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมเอง

 

หมวดที่ ๘

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๔๕ ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป

ข้อ ๔๖ เมื่อสมาคมได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากทางราชการ ก็ให้ถือว่าผู้เริ่มการทั้งหมดเป็นสมาชิกสามัญและสมาชิกภาพของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น เริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นต้นไป

(ลงชื่อ) ร.ต.ต.           ผู้จัดทำ.ข้อบังคับ

 (ดร.สนุก  สิงห์มาตร)